• Welcome to กระบี่วันนี้ ทุกเรื่องของจังหวัดกระบี่.
 

ตราสัญลักษณ์

เริ่มโดย เด็กกระบี่, มิถุนายน 17, 2014, 04:19:44 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

เด็กกระบี่

จังหวัดกระบี่ ก็เหมือนกับจังหวัดอื่นๆ ที่แต่เดิมนั้นถูกตั้งขึ้นเป็นเขต มณฑลก่อนจะเป็นเมืองที่ขึ้นตรงกับอำนาจปกครองและบังคับบัญชาของเมืองนครศรีธรรมราช

จนภายหลังได้ถูกแยกออกมาตั้งเป็นจังหวัดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2418 ก่อนผมเกิดร้อยกว่าปี หากนับกันจริงๆ รุ่นปู่ผมน่าจะเป็นกลุ่มคนแรกๆ ที่อยู่ในพื้นที่แห่งนี้ กระทั่งรุ่นพ่อ และรุ่นผม ซึ่งยังคงไม่มีวันลืมบรรยากาศเก่าๆ

หน่วยการปกครองของจังหวัดกระบี่

ถูกแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกระบี่ อำเภออ่าวลึก อำเภอเกาะลันตา อำเภอคลองท่อม อำเภอปลายพระยา อำเภอลำทับ อำเภอเหนือคลอง และ อำเภอเขาพนม รวม 51 ตำบล 383 หมู่บ้าน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลเมือง 9 เทศบาลตำบล และ 51 องค์การบริหารส่วนตำบล

ผมยังจำได้ดีถึงเพลงที่คุณครูสอนให้จดจำชื่ออำเภอในจังหวัด ตั้งแต่เด็กๆ โดยร้องว่า กระบี่มีอำเภอเมือง อ่าวลึกและเกาะลันตา อีกคลองท่อม ปลายพระยา เขาพนม ทุกคนภูมิใจ รักใครเกลียวกลม ความคิดแหลมคมเช่นคนกระบี่ก็มีมากมาย อะไรอีกจำไม่ได้ คล้ายเพลงมาร์ชกระบี่ โดยขณะนั้นอำเภอไม่ได้เยอะมากเหมือนปัจจุบันที่ ซึ่งแต่เดิม อ.ลำทับ ก็เป็นแค่กิ่งอำเภอในขณะนั้นเท่านั้น

ตราประจำจังหวัดกระบี่

เป็นสัญลักษณ์รูปกระบี่ไขว้ เบื้องหลังมีภูเขาและทะเล
- "กระบี่ไขว้" หมายถึง อาวุธโบราณซึ่งมีผู้ค้นพบในท้องที่จังหวัด จำนวน 2 เล่ม
- "ภูเขา" หมายถึงเทือกเขาพนมเบญจา ซึ่งเป็นภูเขาสูงสุดของกระบี่ ซับซ้อนกันถึง 5 ยอด จึงเรียกว่า พนมเบญจา มีเมฆปกคลุมตลอดเวลา และกั้นเขตแดนกับจังหวัดอื่นๆ
- "ทะเล" หมายถึง อาณาเขตอีกด้านหนึ่งของกระบี่ ซึ่งติดกับฝั่งทะเลอันดามันหรือมหาสมุทรอินเดีย



ธงประจำจังหวัดกระบี่


เหรียญประจำจังหวัดกระบี่ โดยหน้าเหรียญ เป็นรูปกระบี่ไขว้ ภูเขา (เทือกเขาพนมเบญจา) และทะเล หรือรูปตราสัญลักษณ์ของจังหวัด ส่วนด้านหลังเหรียญ จะเป็นรูปเกาะพีพี ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ่นชื่อของจังหวัด


ดอกไม้ประจำจังหวัดกระบี่

คือดอกทุ้งฟ้า (ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia macrophylla Wall. ex G. DonX) วงศ์ APOCYNACEAE ถือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ เพื่อปลูกเป็นไม้มงคลจังหวัด มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น สูง 15-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง กิ่งใหญ่ตั้งฉากกับลำต้น เปลือกสีขาวอมเทามี น้ำยางสีขาว เรีอนยอดค่อนข้างโปร่ง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงรอบข้อข้อละ 3-4 ใบสลับกันไปตามปลายกิ่ง แผ่นใบรูปหอกกลับ


ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมเหลือง ออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายน – เดือนมกราคม ผลเป็นฝักเรียวยาว เมื่อฝักแก่จะบิดเป็นเกลียวและแตกออก ปล่อยให้เมล็ดที่มีขนสีขาวปลิวไปตามลม

ประโยชน์ทั่วไปของทุ้งฟ้าคือ เนื้อไม้ใช้ทำพื้นกระดาน ฝา และเครื่องใช้ทั่วไป สามารถใช้เปลือกต้นและรากเป็นยาบำรุงกำลังและบำรุงกำหนัด แก้ไข้ แก้บิด รักษาบาดแผลทั่วไปได้ดี