• Welcome to กระบี่วันนี้ ทุกเรื่องของจังหวัดกระบี่.
 

คนสวนปาล์ม เดี้ยงเพราะพิษเคมี ขายสวนหนีกันหมดแล้ว

เริ่มโดย เด็กกระบี่, ตุลาคม 11, 2018, 11:41:14 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

เด็กกระบี่

ปาล์ม' กระบี่เดี้ยงพิษเคมี หนีลงทุนเมืองคอน ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันกระบี่เจอพิษปุ๋ยเคมีทำปาล์มน้ำมันไม่ออกผลแห่ย้ายฐานมาปลูก "พัทลุง-นครศรีฯ-สงขลา"

นายกฤษณชนม์ เทพเกลี้ยง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการเกษตรจังหวัดพัทลุง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้การปลูกปาล์มน้ำมันใน จ.พัทลุง มีการขยายตัวเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมีการโค่นสวนยางไปปลูกปาล์มน้ำมันแทน รวมถึงการโค่นยางที่ปลูกในนาข้าว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ปัจจุบันจังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ปลูกปาล์มประมาณ 50,000 ไร่ ขึ้นในพื้นที่ 11 อำเภอ คิดเป็นอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์/ปี ทั้งนี้ ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันส่วนหนึ่งได้เข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่ตามนโยบายรัฐบาล ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต และทำการตลาดได้ดีขึ้น

"เดิมพัทลุงมีนาข้าวเป็นส่วนใหญ่ แต่ต่อมาเลิกปลูกข้าวและหันไปปลูกยางถึง 900,000 ไร่ มาตอนนี้ได้มีการเปลี่ยนจากยางในพื้นที่นามาเป็นปาล์มน้ำมัน และในพื้นที่นาร้างด้วย โดยโซนนี้จะเน้นหนัก สำหรับปาล์มน้ำมัน จ.พัทลุง ให้ผลผลิตเฉลี่ยภาพรวมประมาณ 2-3 ตัน/ปี/ไร่ เพราะเพิ่งปลูก และส่วนใหญ่ปลูกเป็นรายย่อย โดยราคาต้นทุนการผลิตประมาณ 2-3 บาท/กก. ขึ้นอยู่กับแต่ละแปลงแต่ละรายว่าจะจ้างทั้งหมด หรือทำรูปแบบครัวเรือน สำหรับทำครัวเรือนที่ผลิตปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ และใช้แรงงานในครอบครัวค่อนข้างจะ

ลดต้นทุนได้มาก เพราะต้นทุนการผลิตหลักอยู่ที่ปุ๋ย ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์" นายกฤษณชนม์กล่าว

ทางด้านนายทศพล ขวัญรอด เจ้าของสวนยางและสวนปาล์มน้ำมันรายย่อย ประธานภาคีเครือข่ายยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย (คยปท.) เปิดเผยว่า การปลูกปาล์มน้ำมันต้องทำเป็นสวนเชิงซ้อน สวนผสมผสาน เหมือนกับสวนยางพารา มีการทำทั้งกสิกรรม ปศุสัตว์ ประมง ควบคู่กันไปด้วย เช่น การปลูกพืชผักใต้ร่มต้นปาล์ม เลี้ยงวัว แพะ ขุดบ่อเลี้ยงปลา เป็นต้น พร้อมทำแก้มลิงแหล่งกักเก็บน้ำ ไว้ปลูกผักหน้าแล้งได้ตลอดทั้งปี มูลสัตว์เก็บไว้เป็นปุ๋ยอินทรีย์จะเป็นการประหยัดต้นทุนการผลิตได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และทางกลุ่มกำลังตื่นตัวไปทางอินทรีย์ เพื่อได้ลดต้นทุนอย่างแท้จริง

"ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่นิยมใช้ปุ๋ยเคมีทำให้หน้าดินแห้ง ส่งผลทำให้คอต้นปาล์มน้ำมันขาดไม่ให้ผลผลิต ปัญหาดังกล่าวเห็นได้ชัดกรณีผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ จ.กระบี่ บางส่วนที่ดินเสียได้ย้ายมาลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ป่าพรุ จ.พัทลุง ไปถึงริมทะเลฝั่งอ่าวไทย หลายอำเภอของ จ.นครศรีธรรมราช และทะเลสาบ จ.สงขลา โดยมีพื้นที่ปลูกรายละ 3-5 ไร่ โดยเฉพาะ จ.นครศรีธรรมราช จะเป็นรายย่อยประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือจะเป็นนักลงทุนรายใหญ่ ทั้งนี้ ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันรายย่อยได้หารือกันว่าจะก่อตั้งสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมันรายย่อย และจะร่วมกับลานเทรับซื้อปาล์มน้ำมันรายย่อยด้วยกัน"

การที่ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันรายย่อยมีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการโค่นยางมาปลูกปาล์มน้ำมัน โดยเพิ่มทุนสงเคราะห์จาก 16,000 บาท/ไร่ หากปลูกยาง และถ้าปลูกปาล์มน้ำมันเป็น 26,000 บาท/ไร่ จำนวน 400,000 ไร่  และอีก 2 ปีข้างหน้า ปาล์มน้ำมันจะมีผลผลิตออกมาก จะต้องทำยุทธศาสตร์ แบ่งสัดส่วนเป็นพลังงานทดแทน ใช้กับโรงไฟฟ้า ไบโอดีเซล ฯลฯ

เจ้าของสวนปาล์มรายย่อย อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง กล่าวว่า ชาวสวนปาล์มรายย่อยค่อนข้างจะอยู่ได้ เพราะใช้แรงงานในครัวเรือน ต้นทุนการผลิตต่ำ ประมาณ 2 บาท/กก. ราคาปาล์มน้ำมัน 3 บาทเศษ ๆ ถือว่ายังมีกำไร

นายโอภาส หนูชิต ที่ปรึกษาสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.พัทลุง จำกัด เปิดเผยว่าพัทลุงปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นทุกปี แม้ว่าราคาจะอยู่ในสภาพที่ขาดทุน เพราะเป็นอาชีพดั้งเดิม และที่ดินที่มีไม่เหมาะสมกับการปลูกพืชชนิดอื่น