• Welcome to กระบี่วันนี้ ทุกเรื่องของจังหวัดกระบี่.
 

แผ่นดินไหวขณะขับรถทำอย่างไร แผ่นดินไหวสร้างผลกระทบอะไรได้บ้าง

เริ่มโดย achieheng, ธันวาคม 13, 2023, 06:44:18 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

achieheng

แม้เหตุการณ์แผ่นดินไหวจะไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้งนักในประเทศไทย แต่ด้วยสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ก็ส่งผลให้ภัยพิบัติทางธรรมชาติของแต่ละพื้นที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย (แผ่นดินไหวเกิดจากอะไร? ป้องกันตัวอย่างไรเมื่อเกิดแผ่นดินไหว? https://www.smk.co.th/newsdetail/2926) จึงมักเห็นข่าวเหตุแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งในปีที่ผ่านมา (แผ่นดินไหวเมียนมา ขนาด 6.4 เชียงราย เชียงใหม่ กทม.รับรู้แรงสั่นสะเทือน https://www.thaipbs.or.th/news/content/333980) แล้วแผ่นดินไหวจะสามารถสร้างผลกระทบอย่างไรได้บ้าง หากเกิดแผ่นดินไหวขณะขับรถจะต้องทำอย่างไร

ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว

ความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดรุนแรงมาก สามารถก่อให้เกิดอันตรายและผลเสียหาย ได้ดังนี้

1.   ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือได้รับบาดเจ็บถึงเสียชีวิตจากอาคารบ้านเรือนหล่นทับ จากอัคคีภัยหรืออุทกภัย
2.   อาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง เกิดการโยกคลอน สั่นไหว หักพังทลาย สาธารณูปโภคถูกทำลาย แผ่นดินอาจเกิดการทรุดตัว
3.   เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ อาจหล่นลงมา หรือทำให้เกิดเพลิงไหม้ ก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้ ถ้าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบริเวณใกล้ฝั่งหรือในท้องทะเลมักทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำลูกใหญ่พัดเข้าฝั่งกวาดบ้านเรือนและคนจมน้ำสูญหายเป็นจำนวนมาก
4.   หลังจากการเกิดแผ่นดินไหวทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นเงินจำนวนมาก ทำให้การติดต่อสื่อสารล่าช้า ส่งผลต่อธุรกิจการค้าต่าง ๆ เป็นอย่างมาก

วิธีป้องกันเพื่อลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว

สามารถป้องกันหรือลดการเกิดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวได้ด้วยด้วยวิธีการดังนี้

1.   จัดทำแผนการป้องกันอันตรายจากการเกิดแผ่นดินไหว วิธีการป้องกันช่วยเหลือผู้ประสบภัย การให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากแผ่นดินไหว
2.   กำหนดมาตรการทางกฎหมาย กำหนดเขตความเสี่ยงแผ่นดินไหว การแบ่งเขตการใช้ที่ดิน หรือบริเวณที่มักเกิดแผ่นดินไหว และออกกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรงเป็นพิเศษเพื่อรองรับการเกิดแผ่นดินไหว
3.   ทำประกันวินาศภัยและประกันชีวิตให้กับประชาชนที่อยู่ในบริเวณที่อาจเกิดแผ่นดินไหว เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้ประสบภัยจะได้รับความช่วยเหลือและค่าชดเชยกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
4.   ตั้งสถานีตรวจจับแผ่นดินไหวขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ ให้ทั่วประเทศ เพื่อตรวจวัดความสั่นสะเทือนของพื้นดิน และแจ้งข่าวให้ประชาชนได้ทราบถึงอันตรายที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ

แผ่นดินไหวขณะขับรถทำอย่างไร

หากเกิดแผ่นดินไหว ฝนตกหนัก หรือภัยธรรมชาติอื่นๆ ขณะกำลังขับรถยนต์ ควรปฏิบัติดังนี้

1.   กรณีเกิดแผ่นดินไหวขณะขับรถ
•   หากเกิดแผ่นดินไหวขณะขับรถ ให้เปิดไฟฉุกเฉิน และตรวจสอบสถานการณ์โดยรอบของตัวรถและผู้เดินเท้าบนถนน และค่อยๆ เบี่ยงรถไปที่ไหล่ทาง แล้วจึงหยุดรถ
•   จอดรถเมื่อสามารถจอดได้โดยปลอดภัย และในที่ซึ่งไม่มีของหล่นใส่ อยู่ให้ห่างอาคาร ต้นไม้ ทางด่วน สะพานลอย และเชิงเขา
•   หากหยุดรถกะทันหัน อาจถูกชนจากรถข้างหลังได้ เพราะฉะนั้นหากเป็นไปได้ให้ลดความเร็วก่อนที่จะหยุดรถ
•   กรุณารอจนกว่าแผ่นดินไหวเบาลงโดยไม่ลงจากรถ และใช้สมาร์ตโฟนหรือโทรศัพท์มือถือตรวจสอบสถานการณ์ ระดับความรุนแรง ความเสียหายของแผ่นดินไหว

2.   กรณีลงจากรถมาแล้วและอยู่ระหว่างอพยพ
•   กรณีมีประกาศเตือนภัยสึนามิ หรือถนนเกิดความเสียหายจนไม่สามารถขับขี่ได้ ให้ดับเครื่องยนต์ ปิดหน้าต่าง โดยที่ไม่ต้องดึงกุญแจรถออก และให้ลงจากรถไปยังสถานที่ที่ปลอดภัย
•   การเสียบกุญแจทิ้งไว้ จะทำให้เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยสามารถเคลื่อนที่รถได้ในกรณีตัวรถกีดขวางการจราจรของรถฉุกเฉิน

3.   กรณีอพยพด้วยรถ
•   การเคลื่อนรถเมื่อเกิดแผ่นดินไหวนั้นเป็นอันตรายอย่างมาก เนื่องจากอาจมีจราจรติดขัดหรือมีความเสียหายบนถนนหรือรอยแยกบนถนน ด้วยเหตุนี้ จึงควรหยุดรถในที่ที่ปลอดภัยและอพยพโดยการเดิน
•   กรณีไม่มีสถานที่อพยพอยู่ใกล้ๆ และต้องใช้รถในการอพยพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ขับขี่อย่างระมัดระวังและมีสติ และระวังสัญญาณไฟรอบๆ เนื่องจากแผ่นดินไหวอาจทำให้ไฟดับจนสัญญาณไฟจราจรไม่ทำงานได้

เกิดแผ่นดินไหวขณะอยู่ภายในอาคารทำอย่างไร

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขณะอยู่ภายในอาคาร ควรปฏิบัติดังนี้

•   มุดใต้โต๊ะ เก้าอี้ หรือพิงผนังด้านใน แล้วอยู่นิ่งๆ หากไม่มี โต๊ะ ใช้แขนปิดหน้า ปิดศีรษะ หมอบตรงมุมห้อง อยู่ให้ห่าง กระจก หน้าต่าง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่สิ่งของจะหล่นใส่หรือล้มทับ เช่น โคมไฟ ตู้
•   หากนอนอยู่บนเตียงให้ใช้หมอนปิดบังศีรษะ หลีกเลี่ยงบริเวณที่สิ่งของหล่นใส่ และอยู่บริเวณที่ปลอดภัย
•   ใช้ช่องประตูเป็นที่หลบภัยถ้าอยู่ใกล้อยู่ชิดผนังด้านในอาคาร
•   ให้อยู่ในอาคารจนกว่าการสั่นสะเทือนหยุด จึงออกไปภายนอกบริเวณที่ปลอดภัย เนื่องจากอันตรายส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งของหล่นใส่
•   คาดการณ์หรือตระหนักเสมอว่า ไฟฟ้าอาจดับ สปริงเกอร์อาจทำงาน หรือมีเสียงเตือนไฟไหม้
•   อย่าใช้ลิฟต์ขณะมีการสั่นไหว ถ้าอยู่ในลิฟต์กดทุกปุ่มและออกจากลิฟต์ทันที
•   อย่ากรูกันวิ่งออกนอกอาคาร
•   เมื่อการสั่นไหวหยุดแล้ว ถ้าเกิดไฟไหม้ช่วงแรก ให้รีบดับไฟ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายของอาคาร หากปลอดภัยสามารถกลับเข้าไปในอาคารได้
•   หากอยู่ภายนอกอาคาร ให้อยู่ด้านนอก ในที่โล่ง อยู่ให้ห่างจากอาคาร เสาไฟ สายไฟฟ้า ต้นไม้ ป้ายโฆษณา หรือสิ่งของที่อาจหล่นใส่
•   หากติดอยู่ในซากอาคาร อย่าติดไฟ อยู่อย่างสงบ ใช้ผ้าปิดหน้า เคาะท่อ ฝาผนัง เพื่อเป็นสัญญาณต่อหน่วยช่วยชีวิต ใช้นกหวีดแทนการตะโกน เพราะอาจสูดสิ่งอันตรายเข้าร่างกายได้

ประกันภัยรถยนต์คนกรุง ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ประเภท 1 เบี้ยเริ่มต้น 11,600 บาท อัตราเบี้ยคงที่เท่ากันทุกปีคุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี  ไม่ว่าจะรถชนรถ รถชนของ รถคันอื่นมาชน เกิดอุบัติเหตุนอกเมือง สูญหายไฟไหม้ น้ำท่วม สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/19 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง  Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com