• Welcome to กระบี่วันนี้ ทุกเรื่องของจังหวัดกระบี่.
 

มะเร็งรังไข่มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง? ป้องกันได้อย่างไร?

เริ่มโดย achieheng, พฤศจิกายน 23, 2023, 02:14:45 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

achieheng

แม้โรคมะเร็งจะเป็นภัยร้ายที่หลายคนเกิดความกังวลใจ แต่หากตรวจพบเชื้อตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็อาจมีทางให้รักษาหายได้ทัน มะเร็งรังไข่ เป็นอีกหนึ่งความกังวลใจสำหรับผู้หญิงหลายคนที่อาจแฝงตัวอยู่ในจุดเล็กๆ ของอวัยวะสำคัญภายในได้อย่างคาดไม่ถึง (มะเร็งรังไข่มีอาการอย่างไร รักษาหายได้หรือไม่ https://www.smk.co.th/newsdetail/3073) แล้วมะเร็งรังไข่จะมีวิธีการรักษาได้อย่างไร? แนวทางไหนบ้าง

การรักษาโรคมะเร็งรังไข่
วิธีการรักษาโรคมะเร็งรังไข่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการรวมถึงชนิดของมะเร็งรังไข่ ตำแหน่ง ที่อยู่ ความรุนแรงของโรค และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย การพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นสิ่งสำคัญก่อนที่จะตัดสินใจ เพื่อการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช้การรักษาโดยกาผสมผสานกันระหว่างการผ่าตัด และการให้ยาเคมีบำบัด

สิ่งที่สำคัญ คือ การเลือกใช้ยาในการรักษามะเร็งอาจมีความแตกต่างกันในคนไข้แต่ละคน เพราะถึงแม้ว่าคนไข้จะเป็นมะเร็งชนิดเดียวกันแต่ลักษณะการกลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็งอาจมีความแตกต่าง การตรวจยีนมะเร็งอย่างครอบคลุมจะช่วยให้แพทย์และคนไข้สามารถร่วมกันวางแผนการรักษาและเลือกยาที่เหมาะสมที่สุดกับคนไข้ได้อย่างเหมาะสม

รักษามะเร็งรังไข่ด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับโรคมะเร็งรังไข่ ซึ่งควรทำโดยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านมะเร็งและสูตินรีเวช เนื่องจากจุดมุ่งหมายหลักของการผ่าตัดคือการนำก้อนมะเร็งออกจากตัวผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด ซึ่งลักษณะการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนมะเร็ง ตำแหน่งของก้อนมะเร็ง และบริเวณเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายออกไป

หากแพทย์วินิจฉัยว่าเซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตในรังไข่ยังไม่มีการลุกลามมากจนไม่สามารถผ่าตัดได้ แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อนำเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบๆ ออก โดยส่วนมากผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งรังไข่มักได้รับการผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะเหล่านี้ออก เช่น รังไข่ทั้งสองข้าง ท่อนำไข่ มดลูก รวมถึงบริเวณปากมดลูกก็อาจผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองและเยื่อบุช่องท้องออกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเช่นกัน

รักษามะเร็งรังไข่ด้วยยาเคมีบำบัด
การรักษามะเร็งรังไข่ด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดเป็นการใช้ยาเพื่อทำลายหรือยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ที่กำลังแบ่งตัวอย่างรวดเร็วไปทั้งร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเซลล์มะเร็ง หรือเซลล์ปกติของร่างกาย เช่น ผม เล็บ เม็ดเลือด เยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นต้น

ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ในระยะแรกเริ่ม จะยังไม่มีการแพร่กระจายไปนอกรังไข่ การผ่าตัดอย่างเดียวอาจเพียงพอในการรักษาโดยไม่ต้องให้ยาเคมีบำบัด ในผู้ป่วยที่มีเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ แล้วผู้ป่วยมักจะต้องได้รับยาเคมีบำบัดหลังผ่าตัดเรียกว่า "การรักษาเสริมหลังการผ่าตัด" เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่ เป็นการรักษาเพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ รวมถึงช่วยเพิ่มอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยด้วย

นอกจากนี้ยาเคมีบำบัดยัง ใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ในระยะแพร่กระจายหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ เพื่อหยุดการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งรวมทั้งบรรเทาอาการหรือความทรมานจากโรคมะเร็งรังไข่ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด และเพิ่มอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยให้นานขึ้น โดยผลข้างเคียงทั่วไปของยาเคมีบำบัด ได้แก่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ผมร่วง เหนื่อยล้า โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำ และติดเชื้อได้ง่าย

รักษามะเร็งรังไข่ด้วยการให้ยารักษาแบบมุ่งเป้า
การรักษามะเร็งรังไข่ด้วยการให้ยาแบบมุ่งเป้าเป็นการรักษาโดยการใช้ยาหรือสารอื่นๆ ที่ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งและก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ปกติน้อยกว่ายาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา ปัจจุบันยารักษาแบบมุ่งเป้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

•   ยากลุ่ม Anti-angiogenesis ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็ง และลดการสร้างน้ำในช่องท้อง ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของยาฉีด
•   ยากลุ่ม PARP inhibitor ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการซ่อมแซมรหัสพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของยารับประทาน

รักษามะเร็งรังไข่ด้วยฮอร์โมน
การใช้ฮอร์โมนหรือสารต้านฮอร์โมน เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งอาจมีผลในการช่วยชะลอหรือยับยั้งการเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งรังไข่ได้ อาจใช้ในการรักษาแบบประคับประคอง

ภายหลังจากได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามโดยแพทย์ผู้รักษาเพื่อดูแลสุขภาพต่อไป ความถี่ของการตรวจติดตามผลจะขึ้นอยู่กับโรคและสภาพร่างกายของผู้ป่วยโดยปกติหลังการรักษา หรือควรพบแพทย์ทุก 3 เดือน ใน 2 ปีแรกที่ผู้ป่วยมีโอกาสกลับเป็นมะเร็งซ้ำสูงสุด จากนั้นจึงปรับเป็นทุก 6 เดือน การติดตามผลโดยปกติจะใช้การติดตามอาการตรวจร่างกาย ตรวจภายใน ตรวจเลือดเพื่อหาสารติดตามผลมะเร็ง เอกซเรย์ และอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาระยะเวลาตามความเหมาะสม

ป้องกันมะเร็งรังไข่ได้อย่างไร
การป้องกันตัวเองจากมะเร็งรังไข่คือการออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ กินสารอาหารให้ครบ 5 หมู่ในทุกวัน รวมถึงผักผลไม้ หมั่นตรวจสุขภาพอยู่ตลอด ลดบริโภคอาหารประเภทไขมันจากสัตว์ รวมถึงสัตว์เนื้อแดงประเภทต่างๆ เพราะองค์ประกอบเหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยร่วมสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งรังไข่ได้ทั้งสิ้น

ประกันภัยโรคมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงิน ให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทันทีที่ตรวจพบโรคมะเร็งครั้งแรก เพื่อเป็นเงินชดเชยรายได้ในขณะเจ็บป่วยหรือพักฟื้น ไม่จำกัดวิธีการรักษา เป็นทุนสำรองสำหรับครอบครัวในกรณีที่เสียชีวิต และไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกันภัย สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/6 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง  Line : smkinsuranceและสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com