• Welcome to กระบี่วันนี้ ทุกเรื่องของจังหวัดกระบี่.
 

รถพ่วงข้างทำประกันภัยรถยนต์ได้หรือไม่ กฎหมายที่ใช้แตกต่างจากรถยนต์อย่างไร

เริ่มโดย achieheng, สิงหาคม 21, 2023, 03:54:06 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

achieheng

ผู้ที่สัญจรอยู่บนท้องถนน นอกจากจะประกอบไปด้วยรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และคนเดินถนนแล้ว ยังมีรถอีกหลายประเภทที่อาจมีความจำเป็นต้องใช้ถนนร่วมกัน ทั้งรถกระบะ รถบรรทุก (ประเภทรถบรรทุกมีอะไรบ้าง? ขับรถบรรทุกต้องใช้ใบขับขี่ประเภทใด? https://www.smk.co.th/newsdetail/2886) รวมถึงรถที่อยู่คู่วิถีชีวิตของคนไทยมานานอย่างรถพ่วงข้างหรือรถซาเล้ง และหลายครั้งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถพ่วงข้างหรือรถซาเล้งก็อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่โดยสารหรือจำเป็นต้องใช้งานรถพ่วงได้ แล้วรถพ่วงข้างหรือรถซาเล้งสามารถทำประกันภัยรถยนต์ได้หรือไม่ มีกฎหมายและข้อกำหนดในการใช้รถใช้ถนนอย่างไร

รถยนต์พ่วงข้าง คืออะไร

ตามพระราชบัญญัติรถจักรยานยนต์ระบุไว้ว่า รถจักรยานยนต์พ่วงข้าง คือ รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์หรือกำลังไฟฟ้าและมีล้อไม่เกินสองล้อ และพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งล้อ และให้หมายความรวมถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์ด้วย ในประเทศไทยจะสังเกตเห็นรถพ่วงข้างอยู่ทั่วไป ส่วนมากจะเป็นรถพ่วงข้างสำหรับขายของ บรรทุกสินค้า หรือบางครอบครัวก็เอาไว้ใช้เดินทางในชีวิตประจำวันวัน

ขนาดของรถพ่วงข้างที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ขนาดของรถพ่วงข้างที่ถูกกฎหมายนั้น รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ต้องมีความกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร ความยาวไม่เกิน 1.75 เมตร ความสูงไม่เกิน 2 เมตร และเมื่อนำมาพ่วงกับจักรยานยนต์แล้ว ต้องมีความกว้างวัดจากขอบยางด้านนอกสุดของล้อหลังรถจักรยานยนต์ถึงขอบยางด้านนอกสุดของล้อพ่วงไม่เกิน 1.50 เมตร

รถยนต์พ่วงข้างจดทะเบียนได้ไหม

ตามพระราชบัญญัติรถจักรยานยนต์ ระบุไว้ว่า รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น เว้นแต่เจ้าของรถนำรถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพก่อน

ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่ารถที่เปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้เวลานำไปใช้ ให้สั่งเจ้าของรถแก้ไขและนำรถไปให้ตรวจสภาพก่อนการใช้งาน การตรวจสภาพดังกล่าวนายทะเบียนจะสั่งให้เจ้าของรถนำรถไปให้ตรวจสภาพ ณ สถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และให้นำมาตรา 12 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้านายทะเบียนเห็นว่ารถคันดังกล่าวมีความปลอดภัยในเวลาใช้งาน ให้แก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียน และใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นด้วย

ขับขี่รถจักรยานยนต์พ่วงข้างอย่างถูกกฎหมายทำอย่างไร

1.   รถจักรยานยนต์พ่วงข้าง (ซาเล้ง) ถือว่าเป็นรถจักรยานยนต์ตามกฎหมาย
2.   รถจักรยานยนต์พ่วงข้างต้องตรวจสภาพรถกับสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบก
3.   ต้องจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงสภาพรถต่อนายทะเบียนฯ
4.   ต้องจัดทำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจักรยานยนต์
5.   ต้องเสียภาษีประจำปีสำหรับรถจักรยานยนต์
6.   ผู้ขับขี่ต้องสวมหมวกนิรภัยตาม พ.ร.บ.จราจร

ประกันภัยสำหรับรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง

ประกันภัยสำหรับรถจักรยานยนต์พ่วงข้างภาคสมัครใจ ไม่มีผลิตภัณฑ์กรมธรรม์ที่ระบุไว้อย่างชัดเจน แต่เพื่อความปลอดภัยและเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย เจ้าของรถยนต์พ่วงข้างจึงควรให้ความสำคัญกับการทำประกันภัยภาคบังคับและเสียภาษีประจำปีสำหรับรถจักรยานยนต์อย่างต่อเนื่อง สำหรับความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ สามารถสรุปได้ดังนี้

1.   ค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ฝ่ายถูกผิด
•   ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ สามารถเบิก พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ได้สูงสุดคนละไม่เกิน 30,000 บาท (จ่ายตามจริง)
•   ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ เบิกได้คนละไม่เกิน 35,000 บาท
2.   ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม เมื่อพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
•   ค่ารักษาพยาบาล สามารถเบิก พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ได้สูงสุดคนละไม่เกิน 80,000 บาท (จ่ายตามจริง)
•   กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ได้รับเงินค่าชดเชยคนละ 500,000 บาท
•   กรณีทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) ได้รับเงินชดเชยคนละ 300,000 บาท
•   กรณีสูญเสียอวัยวะ
•   สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป คนละ 200,000 บาท
•   สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน คนละ 250,000 บาท
•   สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป คนละ 500,000 บาท
•   กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาล ได้รับเงินค่าชดเชย 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน

รถจักรยานยนต์พ่วงข้างเป็นยานพาหนะสำคัญของใครหลายคน เนื่องจากมีความสามารถในการบรรทุกได้มากกว่ารถจักรยานยนต์ แต่ก็ยังมีราคาถูกกว่ารถยนต์หรือรถกระบะ ผู้ขับขี่รถพ่วงจึงควรปฏิบัติตามกฎและระเบียบกติกาให้ถูกต้องตามกฎหมาย ต่อ พ.ร.บ.และเสียภาษีเป็นประจำทุกปี ขับขี่อย่างปลอดภัยและสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่ออกเดินทาง
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) เป็นกรมธรรม์ที่กฎหมายบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ บังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องจัดทำประกันภัย เพื่อคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายของเจ้าของรถสำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สิน การบาดเจ็บทางร่างกาย และ/หรือ เสียชีวิต ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับเจ้าของรถยนต์ทุกคัน เพียงเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)  ผ่านแอปพลิเคชัน SMK aLL วันนี้ ง่าย สะดวก รวดเร็ว เลือกรับกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์ได้เลยทันที พร้อมยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปีกับกรมการขนส่งทางบกผ่านทางเว็บไซต์ได้อัตโนมัติหลังชำระเงินเสร็จสิ้น สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/16 หรือ หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com