• Welcome to กระบี่วันนี้ ทุกเรื่องของจังหวัดกระบี่.
 

ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทยเดินทางอย่างไร มีอะไรน่าเที่ยวบ้าง

เริ่มโดย achieheng, กรกฎาคม 24, 2023, 08:16:36 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

achieheng

เมื่อเทรนด์การท่องเที่ยวของคนยุคใหม่เริ่มเปลี่ยนไปให้ความสนใจกับแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนในหลากหลายรูปแบบ และเกิดเป็นการท่องเที่ยวออนไลน์ในรูปแบบ 3 มิติขึ้นมากมายในโลกอินเทอร์เน็ตช่วงวิกฤตการณ์ล็อกดาวน์ที่ผ่านมา (https://www.smk.co.th/newsdetail/2749 เที่ยวทิพย์แบบไม่เศร้า...ในวันต้องนั่งเหงาอยู่กับบ้านช่วงล็อกดาวน์) รวมไปถึงศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีความน่าสนใจไม่ต่างกัน แล้วศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีวิธีการเดินทางไปอย่างไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง

ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย คืออะไร?

ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย เดิมเป็นอาคารโรงพิมพ์ธนบัตรแห่งแรกของประเทศไทยและยังเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความมุ่งมั่นด้านการพัฒนาวิทยาการของประเทศ  ภายในโรงพิมพ์ธนบัตรมี ห้องมั่นคง ที่แต่เดิมนั้นใช้สำหรับเก็บรักษาธนบัตรของประเทศ ซึ่งเป็นเขตหวงห้ามเฉพาะ อาคารแห่งนี้จึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีอายุกว่า 50 ปี แต่โครงสร้างอาคารยังมีความแข็งแรงและความงดงามทางสถาปัตยกรรม ซึ่งมีความโดดเด่นที่หลังคาคอนกรีตทรงโค้งและเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย โดยสามารถเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้แบบ Virtual Tour ได้ที่ https://virtualtour.botlc.or.th/
 
ในศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย มีอะไรบ้าง?

ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย มีพื้นที่ 3 ส่วนหลัก ได้แก่

1.   ห้องสมุดพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ใช้พื้นที่ 2 ชั้น แบ่งเป็น

•   ห้องสมุดสำหรับ ค้นคว้าวิจัย และคลังข้อมูลด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน การธนาคาร โดยมีทั้งหนังสือ สื่อวีดีทัศน์ ฯลฯ พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับห้องสมุดชั้นนำทั่วโลกกว่า 7,000 แห่ง
•   พื้นที่สามารถรองรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
•   ห้องประชุม รองรับการทำงานศึกษาวิจัยแบบ co-working space
•   ห้องฉายภาพยนตร์
•   มุมนิทรรศการพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ผู้ก่อตั้ง ธปท. ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์การก่อตั้งธนาคารกลางภายใต้บริบทที่ท้าทายซึ่งยังมีความร่วมสมัย 

2.   พิพิธภัณฑ์ ธปท. ตั้งอยู่ในห้องมั่นคงของโรงพิมพ์ธนบัตร ปัจจุบันถูกเปลี่ยนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเงินของประเทศ ครอบคลุมเรื่องราวเงินตราตั้งแต่ยุคก่อนรัฐไทยจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเงินตราและความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความเป็นอยู่ของผู้คน ตลอดจนความท้าทายในการดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

3.   ส่วนจัดนิทรรศการและกิจกรรมอื่นๆ ได้แก่
•   นิทรรศการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ที่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีการวางแผนทางการเงินที่ดี เข้าใจความเสี่ยงและกลโกงทางการเงินใหม่ๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน
•   ห้องเก็บรักษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ต้นฉบับสำหรับนักวิชาการในการค้นคว้าวิจัย
•   นิทรรศการหมุนเวียนอื่นๆ
•   กิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ (edutainment) อาทิ กิจกรรมวันเด็ก การแข่งขันตอบคำถามหรือประกวดโครงการที่สร้างการเรียนรู้ การเสวนาโดยนักคิด นักเขียน และศิลปิน เป็นต้น
 
เข้าชมพิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ฯ ต้องทำอย่างไร

สามารถจองวัน เวลา และรอบที่ต้องการเข้าชมล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ศูนย์การเรียนรู้ฯ หรือติดต่อเข้าชมด้วยตนเอง (Walk-in) โดยพิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ฯ เปิดให้บริการวันอังคาร-วันอาทิตย์ เปิดรอบเข้าชม วันละ 6 รอบ (รอบละไม่เกิน 40 คน)  ใช้เวลาชมรอบละประมาณ 1.30 ชั่วโมง ได้แก่ รอบ 10.00 10.30 11.00 น. 13.30 14.00 น. จะมีเจ้าหน้าที่นำชม และรอบ 14.30 น. สำหรับเดินชมตามอัธยาศัยโดยใช้ BOT Museum Application ประกอบการชม ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ขอสงวนสิทธิ์ในการจัดกลุ่มการนำชมตามความเหมาะสม
 
ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย เดินทางไปอย่างไร

1.   รถประจำทาง
•   ป้ายวัดสามพระยา รถประจำทางสาย 3, 9, ปอ.9, 30, 32, 33, 43, 53, 64, 65, 524
•   ป้ายตรงข้ามวัดสามพระยา รถประจำทางสาย 3, 9, ปอ.9, 30, 32, 33, 53, 64, 65, 516, 524
•   ป้ายตรงข้ามธนาคารแห่งประเทศไทย รถประจำทางสาย 3, 9, ปอ.9, 30, 32, 33, 49, 53, 64, 65,516,524
•   ป้ายหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย รถประจำทางสาย 3, 9, ปอ.9, 30, 32, 33, 43, 49, 53, 64, 65, 524

2.   เรือโดยสาร
•   ท่าเรือเทเวศร์ - เรือด่วนเจ้าพระยา : ธงสีส้ม ธงสีเขียว ธงสีเหลือง
•   ท่าเรือวัดสามพระยา - เรือข้ามฟาก เรือประจำทาง (ไม่มีธง)
 
วันและเวลาเปิด-ปิดศูนย์การเรียนรู้ฯ

1.   ห้องสมุด ระหว่างเวลา 09.30 – 20.00 น. ยกเว้นวันจันทร์เปิดให้บริการเฉพาะพนักงาน ระหว่างเวลา 09.30 – 17.30 น.
2.   ห้องค้นคว้าจดหมายเหตุ ระหว่างเวลา 09.30 – 12.00 น. และ 13.00 – 16.30 น. (พนักงานสามารถใช้บริการได้ในวันและเวลาทำการของ ธปท. ที่อาคาร 7)
3.   พิพิธภัณฑ์ในศูนย์การเรียนรู้ฯ ระหว่างเวลา 10.00 – 16.30 น.
4.   ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ระหว่างเวลา 09.30 – 16.30 น.
5.   ร้านกาแฟ เปิดให้บริการระหว่างเวลา 09.30 – 16.00 น. (อังคาร - ศุกร์) และ 09.30 – 17.00 น. (เสาร์ - อาทิตย์)
6.   ร้านหนังสือ เปิดให้บริการระหว่างเวลา 09.30 – 18.00 น.
7.   หยุดทุกวันจันทร์และวันหยุดตามประกาศเกี่ยวกับวันหยุดของศูนย์การเรียนรู้ฯ

ค่าธรรมเนียมและค่าบริการ

ศูนย์การเรียนรู้ฯ อาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ดังนี้

1.   การสมัครสมาชิกศูนย์การเรียนรู้ฯ  ปีละ 1,500 บาท (รายละเอียดบริการและสิทธิประโยชน์ของ ศูนย์การเรียนรู้ฯ เป็นไปตามคู่มือสมาชิก กรณีบัตรสมาชิกชำรุด สูญหาย ชำระค่าธรรมเนียมทำบัตรใหม่ 100 บาท
2.   การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ได้รับการยกเว้นค่าเข้าชม
3.   การใช้บริการห้องสมุดและห้องค้นคว้าจดหมายเหตุ เช่น ค่าใช้จ่ายในการยืมทรัพยากรสารสนเทศ
4.   ค่าถ่ายเอกสาร ค่าปรับ ค่าธรรมเนียมตามอัตราที่ประกาศกำหนด
5.   ค่าบำรุงสถานที่ เช่น พื้นที่ห้องประชุมชั้น 5 ผันแปรตามวัน เวลา และจำนวนชั่วโมงการใช้
6.   การบริการที่จอดรถ
a.   ไม่มีตราประทับ
i.   รถยนต์ ชั่วโมงละ 20 บาท เศษคิดเป็นชั่วโมง
ii.   รถจักรยานยนต์ ชั่วโมงละ 10 บาท เศษคิดเป็นชั่วโมง
b.   กรณีใช้บริการในศูนย์การเรียนรู้ฯ และมีการประทับตราจะได้รับยกเว้นค่าบริการที่จอดรถ 4 ชั่วโมง หากเกินกำหนดผู้ใช้บริการจะต้องเสียค่าบริการส่วนที่เกินตามอัตรา
c.   ค่าปรับกรณีบัตรจอดรถหาย 300 บาทและค่าปรับกรณีจอดรถค้างคืน 500 บาท/วัน

ให้สินมั่นคงประกันภัยช่วยดูแลคุณทุกครั้งเมื่อออกเดินทาง ด้วยประกันภัยการเดินทาง คุ้มครองทั้งการเดินทางรายเดี่ยวหรือเป็นหมู่คณะทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตลอดเวลา 24 ชั่วโมงในช่วงระยะเวลาเดินทางตามที่ผู้เอาประกันภัยแจ้งไว้ สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productpadetail/3 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com