• Welcome to กระบี่วันนี้ ทุกเรื่องของจังหวัดกระบี่.
 

ขี่มอเตอร์ไซค์บนทางเท้าผิดกฎหมายหรือไม่ เสียค่าปรับเท่าไร

เริ่มโดย achieheng, กรกฎาคม 10, 2023, 07:05:37 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

achieheng

ปัญหาปวดใจบนท้องถนนมักเกิดขึ้นได้เมื่อมีผู้ฝ่าฝืนกระทำความผิดและสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับผู้ร่วมใช้ถนน และหลายครั้งที่ปัญหาลุกลามบานปลายใหญ่โตจนเป็นสาเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  (ปัญหาปวดหัวกับถนนในหมู่บ้าน รถชนเด็ก รถจอดหน้าบ้าน ใครผิด? https://www.smk.co.th/newsdetail/2850) หรือหลายครั้งก็อาจสร้างผลกระทบให้กับผู้ร่วมทางคนอื่นๆ จนถึงขั้นได้รับบาดเจ็บ ไม่เว้นแม้แต่การขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้า ที่สร้างความรำคาญใจให้กับคนเดินถนนและหลายครั้งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้ แต่ทราบหรือไม่ว่า การขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้ามีความผิดตามกฎหมาย และมีโทษหนักมากยิ่งขึ้นหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น

ขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้ามีโทษ!
การขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้า นอกจากจะเป็นความผิดในคดีจราจรทางบกแล้ว ยังเป็นความผิดคดีอาญาด้วยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 43 (7) กำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400 - 1,000 บาท ตามมาตรตรา 157

ในส่วนของคดีอาญา การขี่มอเตอร์ไซค์บนทางเท้า มีโทษปรับถึง 5,000 บาท ตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมาตรา 17(2) กำหนดว่า ห้ามมิให้ผู้ใดจอดรถหรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์หรือล้อเลื่อนบนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคารหรือมีประกาศของเจ้าพนักงานจราจรผ่อนผันให้จอดหรือขับขี่ได้ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามาตรา 56
ทั้งนี้ ผู้ที่แจ้งเบาะแสผู้กระทำความผิดขับขี่ หรือจอดรถบนทางเท้าต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งหากดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดแล้ว ประชาชนที่แจ้งเบาะแสจะได้รับเงินส่วนแบ่งค่าปรับเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของค่าปรับตามมาตรา 48 วรรคสาม ประกอบมาตรา 57

ติดตั้ง AI จับมอเตอร์ไซค์ขับขี่บนทางเท้า
ปัญหาการขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้าเป็นปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนมามาก และเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องมานาน ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่เทศกิจเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจับปรับ ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรและกำลังคนเป็นจำนวนมาก รวมถึงการใช้เจ้าหน้าปฏิบัติการอาจทำให้เกิดการกระทบกระทั่งขัดแย้งกับผู้ที่โดนจับและอาจมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสได้ กรุงเทพมหานครจึงได้นำเทคโนโลยีที่เป็นกล้อง AI มาจับทะเบียนรถ ติดตั้งบนทางเท้าและตีเส้นกรอบในจุดที่กำหนดไว้ เมื่อมีรถผ่านมาบนทางเท้าก็จะจับภาพที่ป้ายทะเบียนรถบันทึกไว้และสามารถนำข้อมูลนี้มาดำเนินการปรับผู้ที่ทำผิดซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมการขนส่งทางบก ทำให้ทราบเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์และผู้ขับขี่ได้ในเบื้องต้น โดยมีอัตราโทษปรับอยู่ที่ 2,000 บาทต่อรายซึ่งสูงกว่า พ.ร.บ.จราจร โดยติดตั้งไว้จำนวน 5 จุดนำร่อง ได้แก่

1.   จุดที่ 1 ปากซอยรัชดาภิเษก 36 (ซอยเสือใหญ่อุทิศ)
2.   จุดที่ 2 โรงเรียนนิเวศน์วารินทร์
3.   จุดที่ 3 ปากซอยเพชรเกษม 28
4.   จุดที่ 4 ปั๊มน้ำมัน ปตท. เทพารักษ์
5.   จุดที่ 5 ปากซอยเพชรบุรี 9

จ่ายค่าปรับขับขี่บนทางเท้าอย่างไร
สำหรับจ่ายค่าปรับการขับขี่จากการตรวจจับของกล้อง AI เทศกิจจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลแล้วจึงทำหนังสือส่งไปให้กับเจ้าของรถตามทะเบียนบ้านที่เชื่อมข้อมูลไว้กับกรมขนส่งทางบกเพื่อแจ้งให้จ่ายค่าปรับ ภายใน 15 วัน ในอัตรา 2,000 บาท หากยังไม่มาจะส่งหนังสือแจ้งเตือน ครั้งที่ 2 และนำรายได้เข้า กทม. ซึ่ง กทม. จะขยายเพิ่มอีก 100 จุด ในการติดตั้ง AI ให้ครอบคลุมภายใน 1-2 เดือน ซึ่งภายหลังจากที่ได้นำระบบ AI มาติดตั้งบนทางเท้าได้ 1 สัปดาห์แล้วก็พบว่า มีรถมอเตอร์ไซค์ ทำผิดกว่า 4,946 คัน ในจำนวนนี้ เป็นรถของประชาชนทั่วไปมากที่สุด 1,884 คัน และเป็นกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ 592 คัน และกลุ่มไรเดอร์ 309 คัน โดยจุดที่พบการทำผิดมากที่สุด คือ ทางเท้าปากซอยรัชดาภิเษก 36 หรือ ซอยเสือใหญ่อุทิศจำนวน 2,921 คัน

สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนและไม่มีเงินเสียค่า ปรับ 2,000 บาท เจ้าหน้าที่จะยึดรถมอเตอร์ไซค์ไปเก็บไว้ที่สำนักงานเขต หรือที่ที่ปลอดภัย ก่อนจะให้นำเงินมาเสียค่าปรับโดยมีระยะเวลา 1 ปี หลังวันที่ถูกปรับ หากไม่มารับคืนก็จะดำเนินการขายทอดตลาดต่อไป

ขี่มอเตอร์ไซค์บนทางเท้าชนคน เสียค่าปรับเท่าไร
บทลงโทษตามกฎหมายจราจร ตามข้อกำหนดของกฎหมาย "ทางเท้า" ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ได้ประกาศไว้ว่า พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับคนเดินซึ่งอยู่ข้างใดข้างหนึ่งของทาง หรือทั้งสองข้างของทางหรือส่วนที่อยู่ชิดขอบทางซึ่งใช้เป็นที่สำหรับคนเดิน หากขี่มอเตอร์ไซค์บนทางเท้าและชนคนจนได้รับบาดเจ็บ มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157, ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390 โทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าได้รับบาดเจ็บสาหัส ถือว่าเป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 300 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังถือว่าผิดข้อหาขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันควร ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (7), 157, พรบ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 17, 56 โทษสูงสุดปรับไม่เกิน 5,000 บาท

ปัญหาการฝ่าฝืนกฎจราจรเป็นสิ่งที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนมานาน การนำเทคโนโลยีมาใช้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้คนได้มากขึ้น และเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนเดินถนนเพิ่มขึ้นด้วย ช่วยให้ชีวิตบนท้องถนนของคุณปลอดภัยได้มากขึ้น ด้วยประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ "การันตีถูกจริง" ประกันรถยนต์ชั้น 1 ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด เบี้ยเริ่มต้น 6,999 บาท และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท) สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com